ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่  1 – 6  รับทั้งชาย – หญิง ใช้อักษรย่อ   “ส.ม.ค.” โรงเรียนเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.  2516 โดย  ฯพณฯ พระคาร์ดินัลมีชัย  กิจบุญชู  ประมุข     แห่งมิสซัง  โรมันคาทอลิกกรุงเทพ ฯ  มีความประสงค์จะจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมชุมชนแออัด  คลองเตย  จึงได้มอบให้ทางศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (HUMAN  DEVELOPMENT CENTER)  ซึ่งมีบาทหลวงโจเซฟ  เอช  ไมเออร์  สงฆ์คณะมหาไถ่  เป็นผู้อำนวยการและเป็น    ผู้ดำเนินงาน  ซิสเตอร์มาทิล  ป.เสริมสกุล  แห่งคณะพระกุมารเยซู       ซึ่งมาทำงานประจำที่ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (ปัจจุบันมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคลในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)  ได้ติดต่อขอที่ดินจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย  ในนามมูลนิธิพระกุมารเยซู  เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียน  ณ  บริเวณท่าเรือ       ในขณะนั้น พล.ร.อ.อภัย  สีตกะสิน  ซึ่งเป็นผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย  ก็ได้อนุมัติให้ที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน  จำนวน  556.5  ตารางวา  ฯพณฯ พระคาร์ดินัลมีชัย  กิจบุญชู       ได้ดำเนินการก่อสร้าง  โดยมี นายราชัย    สัตยวานิช  สถาปนิคเขียนแปลนอาคารเรียน   นายประนัย  สัตยวานิช  เป็นวิศวกร  เมื่อส่งแปลนไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้พิจารณา   โดยมีนายเฉลิมชัย    มีคุณเอี่ยม  เป็นผู้ตรวจสอบ และได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารได้
                โรงเรียนเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนในวันที่ 14  มกราคม  2518  ซึ่งมีนายพิสิฐ  วิสิฐนนทชัย  เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง  แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2518  สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ  หนึ่งล้านเศษ  เป็นอาคารเรือนไม้สองชั้น  ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กร  MISSIO   ประเทศเยอรมัน
                ปีการศึกษา  2519  เริ่มเปิดทำการสอนวันที่  1  มิถุนายน 2519  โดยมีมิสซังโรมันคาทอลิก  กรุงเทพฯ  เป็นเจ้าของ และบาทหลวงโจเซฟ  เอช  ไมเออร์    เป็นผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริม         การพัฒนาบุคคล  และได้ติดต่อขอซิสเตอร์จากคณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯ  ให้มาดำเนินการ        ทางคณะพระหฤทัยได้ส่งซิสเตอร์สุวรรณรัตน์  ทรงศักดิ์ศรี  มาเป็นผู้บริหารโรงเรียน  โดยทาง     มิสซังคาทอลิกได้มอบอำนาจให้นางสาวสุวรรณรัตน์  ทรงศักดิ์ศรี   เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและครูใหญ่โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์  ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชน  แต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนไม่อนุมัติเพราะเนื้อที่ไม่ถึงสองไร่ ทางมิสซังโรมันคาทอลิกจึงได้ติดต่อขอโอนกิจการของโรงเรียนดรุณวัฒนา  ซึ่งจะเลิกล้มกิจการ มาเป็นของมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพฯ
               
 
ปีการศึกษา  2520  มิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพฯ  ได้ขอโอนกิจการของโรงเรียนดรุณวัฒนามาเป็นของมิสซัง และได้ดำเนินการขออนุญาตโอนกิจการของโรงเรียน ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่  27  กันยายน 2520  ตามใบอนุญาตเลขที่  47 / 2520  ต่อจากนั้นได้ขอย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนจากตึกครึ่งไม้สองชั้น  เลขที่  36  ถนนสามเสน  นครไชยศรี  เขตดุสิต  มาตั้งที่  399  ถนนอาจณรงค์  แขวงคลองเตย   เขตคลองเตย  กรุงเทพฯ  โดยรับนักเรียนไม่เกิน  225  คน  ตามใบอนุญาตเลขที่ 414 / 252  และยังได้ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากดรุณวัฒนา  เป็นโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์  ตามใบอนุญาตเลขที่  466 / 252  และนางสาวสุวรรณรัตน์  ทรงศักดิ์ศรี  ได้ทำหน้าที่บริหารโรงเรียน    ตั้งแต่วันที่  24  พฤศจิกายน  252  โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่  1 -  4
                ปีการศึกษา 2521   ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร  ตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต         ผู้จัดการและครูใหญ่จากนางสาวสุวรรณรัตน์  ทรงศักดิ์ศรี  เป็นนางสาวกฤษฎี  ชื่นชมน้อย ในปีการศึกษานี้    ได้ขอใช้อักษรย่อของโรงเรียนว่า  “ส.ม.ค.”  ตามใบอนุญาตเลขที่ 24 / 2521  และได้ขอขยายชั้นเรียนประถมปีที่ 5 - 6  สามารถรับนักเรียนได้สูงสุด  270 คน  ตามใบอนุญาตเลขที่  247 / 2521  โดยไม่ขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน  ตามใบอนุญาตเลขที่  246 / 2521  ซึ่งมีนักเรียนจำนวน  184  คน  ครู 11  คน  มีห้องเรียนจำนวน  6  ห้องเรียน
                ปีการศึกษา  2523                มีนักเรียน จำนวน  189  คน  ครู 11  คน  มีห้องเรียนจำนวน  6  ห้องเรียน
                ปีการศึกษา  2524               มีนักเรียน จำนวน  218  คน  ครู  10  คน  มีห้องเรียนจำนวน  6  ห้องเรียน
                ปีการศึกษา  2525  ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่งผู้ลงนามผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการครูใหญ่  จาก นางสาวกฤษฎี  ชื่นชมน้อย   เป็น นางสาวสุพรรณวดี  ชาวปากน้ำ   มีนักเรียนจำนวน   214   คน ครู   11   คน   และจำนวนห้องเรียน  6  ห้องเรียน  และในวันพุธที่  1  พฤศจิกายน  2525    เวลา  2.30  น.  ได้เกิดเพลิงไหม้บ้านที่อยู่อาศัยใกล้บริเวณโรงเรียน  ไฟไหม้ลุกลามบริเวณ   โรงอาหารทั้งหมดและชั้นบนของอาคารเรียน  กระจกตามห้องต่าง ๆ ได้รับความเสียหายทั้งหมด  ของใช้ต่าง ๆ  และหนังสือในห้องสมุดสูญหาย  ค่าเสียหายทั้งหมดที่ได้รับ  คิดเป็นมูลค่ากว่าสองแสนบาท  ต่อมาเมื่อวันที่  7  มีนาคม  2526  ทางศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล  ซึ่งมีบาทหลวงโจเซฟ เอช ไมเออร์  เป็นผู้อำนวยการ  ได้ทำหนังสือขออนุญาตผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย  สร้างอาคารโรงอาหารใหม่  แทนอาคารที่ถูกไฟไหม้  ซึ่ง พล.ร.ท.คำนวณ  ปุณศรี ผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทย  ผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ตอบอนุญาต ตามใบตอบรับที่  กทท.7 / 629  และที่ กทท. 7 - 1515  จึงได้เริ่มก่อสร้างโดยลงมือรื้อถอน     เมื่อวันที่  25  มีนาคม  2526  โดยนายสุรินทร์  สุขสิทธิ  เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง  แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม  2526  ค่าก่อสร้างทั้งหมดห้าแสนบาท  เงินจำนวนนี้ทางศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคลเป็นผู้ออกทั้งสิ้น
                ปีการศึกษา  2527  มีจำนวนนักเรียน 243  คน  ครู  14  คน  ทางโรงเรียนได้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอใช้บริเวณที่ถูกไฟไหม้  ซึ่งแต่เดิมทางการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ให้สร้างโรงเรียนสามัคคี
สงเคราะห์   564.5   ตารางวา   แต่เนื่องจากชาวบ้านไม่ยอมย้ายออกไป   ดังนั้น  ทางโรงเรียนเห็นว่า  การท่าเรือแห่งประเทศไทยมิได้จัดทำการใด ๆ และเนื่องจากบริเวณโรงเรียนที่คับแคบไม่มีสนามหญ้า  จึงได้ติดต่อขอ
อนุญาตใช้ที่ดินนั้นเพื่อสร้างสนามเด็กเล่น  ซึ่ง พล.ร.ท.คำนวณ  ปุณศรี     ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย  ทางศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคลจึงได้ดำเนินการถมที่กั้นรั้วสังกะสีสิ้นค่าใช้จ่ายหนึ่งแสนบาท
                ปีการศึกษา  2528 - 2530  มีจำนวนนักเรียน  270  คน  ครู  14  คน
                ปีการศึกษา  2531  มีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้รับใบอนุญาต - ผู้จัดการและครูใหญ่จากนางสาวสุพรรณวดี  ชาวปากน้ำ  เป็นนางสาวสมศรี  กิจพิทักษ์  ในปีการศึกษานี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 310  คน และครู 14  คน
                ปีการศึกษา  532  ทางโรงเรียนได้ขอขยายโรงเรียนเพิ่ม 1 ห้อง  รวมเป็นห้องเรียน 7 ห้อง  และสามารถรับนักเรียนได้สูงสุด  จำนวน  315  คน  ในเนื้อที่ 1 ไร่ 184.5  ตารางวา  ตามใบอนุญาตที่  กส. 152 / 2532 ในปีการศึกษานี้มีจำนวนนักเรียน 380  คน  ครู  15  คน
                ปีการศึกษา  2533     มีนักเรียนจำนวน  315  คน  ครู  20  คน
ปีการศึกษา  2534  ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต - ผู้จัดการและครูใหญ่  จากนางสาวสมศรี  กิจพิทักษ์  เป็นนางสาวรำไพ  ศุระศรางค์  มีนักเรียน  จำนวน  319  คน         ครู  17  คน
                ปีการศึกษา  2536  ได้ขอขยายห้องเรียนเพิ่ม 2 ห้อง รวม 9 ห้องเรียน  สามารถรับนักเรียนได้สูงสุด  425  คน  ตามใบอนุญาตเลขที่  กส. 1497 / 2535  ปีนี้มีนักเรียน 425  คน  ครู  17  คน
                ปีการศึกษา  2536  ได้ขอขยายห้องเรียนเพิ่มอีก 1 ห้อง และห้องสมุด 1 ห้อง รวมเป็นห้องเรียน    10  ห้อง  สามารถรับนักเรียนได้สูงสุด 470 คน  ตามใบอนุญาตที่  กส. 1252 / 2536  มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 470 คน  ครู 18 คน
                ปีการศึกษา  2537  ได้ขอขยายห้องเรียนเพิ่มอีก 1 ห้อง  รวมห้องเรียนจำนวน  11  ห้องเรียน   รับ นักเรียนได้สูงสุด  515  คน  ตามใบอนุญาตที่  กส. 88 / 2537  และมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น   494   คน                         ครู  20  คน
                ปีการศึกษา  2538  ได้ขออนุมัติเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน  จากกระทรวงตามใบอนุญาตเลขที่  กศ. 922 / 2536  ปีการศึกษานี้  มีนักเรียน  515  คน  ครู  2  คน
                ปีการศึกษา  2539  ได้ขอขยายห้องเรียนเพิ่มอีก  1  ห้อง  รวมห้องเรียน  12  ห้อง  รับนักเรียน ได้สูงสุด  560  คน  ตามใบอนุญาต  ที่ กส. 1194 / 2539  ทางโรงเรียนได้ยื่นคำร้องขอซ่อมแซมรั้ว  ให้มั่นคงถาวร  การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ซ่อมแซมเป็นรั้วถาวร  เพราะอยู่ในพื้นที่ของท่าเรือที่ต้องเคลื่อนย้ายตามประกาศ  จึงอนุญาตให้ซ่อมแซมด้วยวัสดุสังกะสีเท่านั้น  ตามหนังสือที่ กทท.132 / 659
                ปีการศึกษา  2540  ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  จาก นางสาวรำไพ   
ศุระศรางค์  เป็น  บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์   ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  และนางสาวโนรา     ระดมกิจ  เป็นผู้จัดการ - ครูใหญ่  โรงเรียนได้เข้าสังกัดฝ่ายการศึกษาในโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ฯ  โดยเข้า
ร่วมโครงการบูรณาการจริยธรรมที่ฝ่ายการศึกษาฯ  จัดขึ้นและนำมาพัฒนาบุคลากรในด้านเทคนิคการสอนและบูรณาการจริยธรรมในทุกรายวิชา  และส่งเสริมความมีระเบียบวินัย  เน้นการติดตามนักเรียน  สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยมีโครงการเยี่ยมเยียนครอบครัวนักเรียน จัดกิจกรรมเพื่อต้านยาเสพติดและ
พัฒนาการวางแผนงานของโรงเรียนให้เป็นระบบยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารสถานที่  คือ  มีการเพิ่มอ่างล้างมือด้านหน้า   ห้องน้ำ  ปรับเปลี่ยนห้องประกอบการ เช่น  ห้องสมุด  ห้องพยาบาล  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องวิชาการ  และห้องพักครู  ให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานและบูรณะอาคารเรียนใหม่ ในส่วนที่เป็นโบสถ์ให้สวยงาม  ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากการท่าเรือแห่งประเทศไทย  และสำนักงานเขตคลองเตย  ให้ใช้สถานที่ด้านหลังโรงเรียนเพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียน  การสอน และเป็นสถานที่สำหรับนักเรียนเล่นกีฬา  ออกกำลังกาย    ปีการศึกษานี้มีคณะครู  22  คน   นักเรียน  558  คน 
                ปีการศึกษา  2541  ได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่บางส่วนเพื่อความสะดวก ปลอดภัยและเป็นระเบียบ เรียบร้อย  โดยได้ปรับเปลี่ยนบริเวณโรงอาหารและบริเวณหน้าห้องธุรการ  ซึ่งเดิมเป็นหลังคาที่ใช้สแลนกันแดดและฝุ่นเป็นหลังคาโครงเหล็กแผ่น งานด้านการเรียนการสอน ทางโรงเรียนยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรและร่วมโครงการบูรณาการจริยธรรมและจัดโครงการ  สานสัมพันธ์  บ้าน  วัด  โรงเรียน (บวร)  ด้วยการเยี่ยมเยียนครอบครัวนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  และก่อนปิดภาคเรียนที่  2  คณะผู้บริหาร  คณะครู  ได้ร่วมกันจัดทำธรรมนูญของโรงเรียน  ฉบับที่  1  เป็นทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนสู่การประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานของโรงเรียน เพื่อใช้ในระหว่างปีการศึกษา 2542 - 2544  ปีการศึกษานี้มีนักเรียน 560 คน  คณะครู 24  คน
                ปีการศึกษา  2542  บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์   ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และ มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการจากนางสาวโนรา  ระดมกิจ  มาเป็นนางสาวบังอร  มธุรสสุวรรณ    ทางโรงเรียนได้นำธรรมนูญของโรงเรียนมาดำเนินการเพื่อพัฒนาโรงเรียน  เป็นต้น  ด้านการจัดการเรียนการสอน  และจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถของนักเรียน  เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นความหวังของครอบครัว  ชุมชน  และประเทศชาติต่อไป    ปีการศึกษานี้มีนักเรียนประมาณ  560  คน  ครู  24  คน
                ปีการศึกษา  2543  บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์   ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต นางสาวบังอร  มธุรสสุวรรณ  เข้ารับตำแหน่งครูใหญ่ และได้ร่วมกับคณะครูในการพัฒนาโรงเรียนสู่เกณฑ์มาตรฐาน  ในปี พ.ศ.  2544   ในปีการศึกษานี้  มีนักเรียนประมาณ  558  คน  และครู  25  คน
                ปีการศึกษา  2544  บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์   ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต นางสาวสายพิรุณ ไทยแก้วรอด  เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการ - ครูใหญ่  ในปีการศึกษานี้  มีนักเรียนประมาณ  541  คน  และครู  25  คน
                ปีการศึกษา  2545 บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์   ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต นางสาวรัตนา   สุวรรณใจ   เข้ารับตำแหน่งครูใหญ่  ร่วมกับคณะครูปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ปรับสาระการเรียนในกลุ่มสาระ
ต่างๆ 8 กลุ่มสาระ 8 สาระ ครั้งที่ 2 จัดทำหนังสืออนุสรณ์ 25 ปีของโรงเรียน , จัดทำ CD. เพลง  25 ปีโรงเรียนในปีการศึกษานี้  มีนักเรียนประมาณ  560  คน  และครู  24  คน เจ้าหน้าที่ 2 คน
ปีการศึกษา  2546                บาทหลวงชัชวาล  ศุภลักษณ์ ผู้รับใบอนุญาต นางสาวนงนภัส  สุวรรณใจ ผู้จัดการ – ครูใหญ่ ร่วมกับคณะครูในการพัฒนาสถานศึกษาให้การช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาส โรงเรียน
ได้รับโล่และธง โรงเรียนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด จากท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายสมัคร สุนทรเวช) ได้รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (องค์กรมหาชน)  บาทหลวงชัชวาล       ศุภลักษณ์ ผู้รับใบอนุญาตของโรงเรียนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณผู้มีส่วนร่วมส่งเสริมวัฒนธรรม จากสภาวัฒนธรรมเขตคลองเตย ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 560 คน คุณครู 24 คน เจ้าหน้าที่สนับสนุน 2คน
ปีการศึกษา  2547    เปลี่ยนผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงชัชวาล    ศุภลักษณ์     เป็น   บาทหลวงบุญเสริม   เนื่องพลี   ผู้จัดการ - ครูใหญ่ นางสาวนงนภัส  (นางสาวรัตนา)  สุวรรณใจ
                ปีการศึกษานี้ มีนักเรียน 576 คน คุณครู 28 คน เจ้าหน้าที่สนับสนุน 3 คน  โรงเรียนได้ 
  1. เข้าร่วมโครงการงานพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
  2.   ปรับสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ 8 กลุ่มสาระ 8 สาระ ครั้งที่ 3
  @  ปรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จาก
1.  ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเอง                                 2. ความมีระเบียบวินัย
3. ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา                       4. ความประหยัด
5. ความซื่อสัตย์                                                   6. ความมีสัมมาคารวะ
7. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่                                       8. ปฏิบัติตนตามแบบอย่างไทย       
 เป็น       1. รักและรับใช้                                                    2. ใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยตนเอง
3. ความมีระเบียบวินัย                                       4. มีสัมมาคารวะ ปฏิบัติตามแบบอย่างไทย
3. ส่งนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ  เช่น  เข้าร่วมโครงการ”ชมรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและ
      สิ่งแวดล้อม” กับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับ ชมรม
      อาสาสมัครพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
4.  ร่วมประกวดร้องและเต้นเพื่อสุขภาพ 25 ประเภทไทยสากลในโครงการ “Spa Health & Beauty        
25” 25 สปาไทยหนึ่งในเอเชีย บริษัท แรนด์ มาเก็ตติ้งแอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
  1. เข้าร่วม “โครงการชวนน้องอ่าน”  The Pizza Company Book Clubโรงเรียนได้รับพระราชทานรางวัลโล่เกียรติคุณ (ชมเชย) สัญญา  ธรรมศักดิ์ ในโครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่สร้างคนดีในสังคมด้วยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
  2. ปรับปรุงระบบเครื่องเสียงภายในโรงเรียน และ ห้องเรียน อำนวยความสะดวกให้แก่ ครู โดยการจัดหาเครื่องเสียง และ ปรับปรุงระบบเครื่องเสียงในห้องเรียน
  3. ปรับปรุงห้องประกอบการคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนสามารถใช้โปรแกรมที่ทันสมัยสะดวกแก่การจัดการเรียนการสอน
  4. ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเพิ่มแสงสว่างให้กับห้องเรียน
ปีการศึกษา  2548              บาทหลวงบุญเสริม  เนื่องพลี ผู้รับอนุญาต และ นางสาวนงนภัส  สุวรรณใจ ในปีการศึกษานี้ มีนักเรียน 557 คน คุณครู 28 คน ได้ร่วมพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ จัดหาเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
 
  1. ปรับปรุงเวทีให้สามารถใช้งานได้อย่างสง่างาม
  2. จัดทำม่านบังตากันระหว่างห้องน้ำและโรงครัวเพื่อให้แลเป็นสัดส่วน
  3. ปรับปรุงเครื่องเสียงให้สามารถใช้ได้กับงานในทุกโอกาส และ กระจายเสียงได้อย่างทั่วถึง
  4. ปรับปรุงสำนักงานบริการอำนวยความสะดวกแก่คณะครูและผู้ปกครอง ห้องธุรการปรับเปลี่ยน
                    โต๊ะทำงาน และปรับปรุงห้องธุรการให้สามารถใช้งานได้ทั้งการต้อนรับผู้ปกครอง การจัดเก็บ
        เอกสารและให้บริการสหกรณ์แก่นักเรียน
  1. ให้การสนับสนุนบุคลากรในการปรับปรุงและจัดทำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามโครงการพระราชดำริ อย่างต่อเนื่อง
  2. ได้รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์กรมหาชน) รอบที่ 2 จากบริษัทพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ปีการศึกษา  2549                เปลี่ยนผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตจากบาทหลวงบุญเสริม   เนื่องพลี     เป็น   บาทหลวงอนุชา  ชาวแพรกน้อย เมื่อวันที่  1  กรกฎาคม พ.ศ. 2549    ผู้จัดการ - ครูใหญ่ จากนางสาวนงนภัส  (นางสาวรัตนา)  สุวรรณใจ เป็น นางสาวไพรศรี   มะลิวัลย์ เมื่อวันที่  26  พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในปีการศึกษานี้ ได้มีการพัฒนาปรับพื้นห้องสมุด และได้มีการตั้งวงดนตรีสากลเพื่อฝึกทักษะนักเรียนที่มีความสนใจทางด้านดนตรี และยังส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันที่โรงเรียนแม่พระฟาติมา ในการแข่งขั้นครั้งนี้ได้รับรางวัลชมเชย   ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 480 คน คุณครู 29 คน เจ้าหน้าที่ 4  คน
                ปีการศึกษา  2550                บาทหลวงอนุชา  ชาวแพรกน้อย  และ  นางสาวไพรศรี  มะลิวัลย์  สนับสนุนให้นักเรียนได้มีทักษะทางด้านนาฏศิลป์ ได้ส่งวงดนตรีสากล และ ด้านนาฎศิลป์ประยุกต์เข้าร่วมแข่งขันในโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับเชิญ ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 556 คน  คุณครู 24 คน
ปีการศึกษา  2551    บาทหลวงอนุชา  ชาวแพรกน้อย  เปลี่ยน ผู้จัดการ – ผู้อำนวยการจาก นางสาวไพรศรี  มะลิวัลย์  เป็น นางสาวสุวรรณ   ประราศรี ในปีการศึกษานี้ ได้มีการปรับพื้นลานอเนกประสงค์ และพื้นห้องเรียนตรงข้ามกับห้องสมุด จากพื้นปูนเป็นพื้นกระเบื้อง   ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 521 คน คุณครู 26 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน คนงาน 3 คน
ปีการศึกษา 2552  เปลี่ยนผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต จากบาทหลวงอนุชา   ชาวแพรกน้อย เป็น บาทหลวงจินตศักดิ์  ยุชัยสิทธิกุล ในปีการศึกษานี้ได้มีการปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน และคุณครูในฝ่ายต่าง ๆให้พร้อมใช้งาน    ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 494 คน คุณครู 22 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
ปีการศึกษา  2553 บาทหลวงจินตศักดิ์   ยุชัยสิทธิกุล  และ  นางสาวสุวรรณ   ประราศรี  ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 464 คน คุณครู 19 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
1. ได้ปรับพื้นห้องเรียนต่าง ๆ ทั้งหมดจากพื้นปูนเป็นพื้นกระเบื้อง
2. ปรับเปลี่ยนโต๊ะ เก้าอี้ ที่มีขนาดเหมาะสมกับนักเรียน โดยได้รับความอนุเคราะห์ โต๊ะเก้าอี้
     จากโรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล
3. จัดศูนย์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นต้น มุมอ่านหนังสือ มุมวีดีทัศน์ มุมพักผ่อนมีเกม
    เศรษฐี การวาดภาพระบายสี
4. ซ่อมแซมอาคารเรียน หลังคาโรงอาหาร
5. ปรับปรุงห้องสมุดจัดหาหนังสือที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะและวัยของนักเรียน
6. ปรับปรุงเครื่องอำนวยความสะดวกในชั้นเรียน บริเวณลานอเนกประสงค์ โรงอาหาร โดย
    การซ่อมแซมบานเกล็ด พัดลมตามจุดต่าง ๆ ให้แข็งแรงและปลอดภัยยิ่งขึ้น
ปีการศึกษา  2554  บาทหลวงจินตศักดิ์  ยุชัยสิทธิกุล และนางสาวสุวรรณ   ประราศรี  ปรับมุมต่าง ๆ ให้เป็นที่ นักเรียนได้พักผ่อน ในช่วงพักเที่ยงเป็นต้น มุกทีวี มุมอ่านหนังสือ มุมกีฬาในร่ม หมากฮอส และเกมต่างๆ เป็นต้น ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 443 คน คุณครู 21 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
                ปีการศึกษา 2555 บาทหลวงจินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการครูใหญ่ ผู้อำนวยการ พัฒนาปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ สื่อเทคโนโลยีเคลื่อนที่สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ตามที่ต่างๆ ในชั้นเรียน ทาสีภายนอกห้องเรียน ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 448 คน คุณครู 19 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
                ปีการศึกษา  2556 บาทหลวงจินตศักดิ์  ยุชัยสิทธิกุล ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการครูใหญ่ ผู้อำนวยการ พัฒนาศักยภาพนักเรียนด้านกีฬาฟุตซอล พัฒนาอาคารสถานที่ เป็นต้นห้องสมุด จัดมุมหนังสือตามจุดต่าง ๆ ของห้องห้องเรียน และโรงเรียน ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 461 คน คุณครู 19 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
                ปีการศึกษา 2557 เปลี่ยนผู้ลงนามผูรับใบอนุญาต ผู้จัดการและผู้อำนวยการ จากบาทหลวงจินตศักดิ์     ยุชัยสิทธิกุล เป็น บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา ในปีการศึกษานี้มีการพัฒนาปรับปรุงการบริหารดังต่อไปนี้
ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 433 คน คุณครู 17 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
  1. จัดทำแผนพัฒนาผลโอเน็ตของนักเรียนเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และดำเนินการพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวันเสาร์ ในภาคเรียนที่ 1 สิ้นสุดถึงวันที่ทำการทดสอบ
  2. ได้มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองรับการศึกษาสู่อาเซียน และให้สอดคล้องกับการส่งเสริมคุณธรรม 12 ประการ
  3. ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ได้รับการประเมินจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนการประเมินในครั้งนี้สิ่งที่สถานศึกษาต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือผลการทดสอบระดับชาติ (O-Net) และการประเมินของ สมศ ที่ไม่ผ่าน
  4. ปรับปรุงและพัฒนาแผนพัฒนาโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2557 – 2561 เป็น แผนพัฒนาโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2558 – 2560 เพื่อให้สอดคล้องรองรับการประเมินรอบที่ 4  และเพื่อ พัฒนาทักษะการอ่านคิด วิเคราะห์ และผลการทดสอบระดับชาติ        (O-Net)ของนักเรียน
ปีการศึกษา 2558 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงเรียน โดยปรับโครสร้างการบริหารจัดการเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริการ และฝ่ายมาตรฐานการศึกษา  ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 411 คน คุณครู 22 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
ปีการศึกษา 2559 เปลี่ยนผู้อำนวยการจาก บาทหลวงอนุรัตน์  ณ สงขลา เป็น ซิสเตอร์นงนภัส  สุวรรณใจ ในปีการศึกษานี้มีนักเรียน 419 คน คุณครู 20 คน เจ้าหน้าที่ 1  คน พนักงาน 3 คน
ได้พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น และได้พัฒนาอาคารสถานที่ เป็นต้นเปลี่ยนกระดาษไวท์บอร์ดทุกห้องเรียน ทาสีห้องเรียน  ห้องคอมพิวเตอร์  และได้มีการพัฒนาการบริหารดังนี้
                1.  ดำเนินการพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางโอเน็ตผ่านตามกำหนด โดยมีติวเตอร์จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสนับสุนงบจากฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
                2. ปรับปรุงและพัฒนาแผนพัฒนาโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2558 – 2560 เป็น พัฒนาแผนพัฒนาโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2560 – 2564 เพื่อให้สอดคล้องรองรับการประเมินรอบที่ 4  และเพื่อ พัฒนาทักษะการอ่านคิด วิเคราะห์ และผลการทดสอบระดับชาติ        (O-Net)ของนักเรียน
ปีการศึกษา 2560 บาทหลวงอนุรัตน์    ณ สงขลา ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต / ผู้จัดาร และซิสเตอร์นงนภัส  สุวรรณใจ  ผู้อำนวยการ มีนักเรียน  464  คน   ครูจำนวน  21  คน  เจ้าหน้าที่  1  คน   คนงาน  3   คน  ได้มีการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้
                                1."สร้างโรงยิมอเนกประสงค์สามัคคีธรรม" ใช้ร่วมกับชุมชน พร้อมปรับปรุงห้องน้ำของชุมชนให้สามารถใช้งานได้
                                2. ปรับปรุงรั้วสนามโรงเรียนและชุมชนให้มีความปลอดภัยต่อนักเรียนและทรัพย์สินของโรวเรียนมากขึ้นมากขึ้น
                                3. ปรับปรุงห้องจิตตาภิบาลบนชั้นสองของห้องน้ำ เป็นห้องสมุดให้สามารถใช้งานได้และสามารถสืบค้นข้อมูลได้
                                4. ปรับพื้นไม้ห้องเรียนบนชั้นสองของอาคาร 3 ห้องเรียน เพื่อความสะอาดเรียบร้อยและปลอดภัยต่อการทำความสะอาด
                                5. ปรับปรุงพื้นโรงอาหารให้เสมอกับพื้นสนามหน้าอาคารเรียน
                                6. จัดทำห้องประกอบการอเนกประสงค์ โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้ครู บุคลากร นักเรียนกิจกรรมทางศาสนา และชุมชนได้ใช้ในการจัดกิจกรรม
                                7.ปรับย้ายห้องจิตตาภิบาล มายังห้องพระเมตตา ในลานกีฬาโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ ด้านหลังของอาคารเรียน
เกียรติยศ ชื่อเสียงของสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู บุคลากร
                                1.ในปีการศึกษานี้สถานศึกษาได้รับประกาศเกียรติคุณ "สถานศึกษาดีเด่นของเขตด้านส่งเสริมวัฒนธรรมประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 จากสภาวัฒนธรรมเขตคลองเตย
                                2. ซิสเตอร์นงนภัส      สุวรรณใจ                   ผู้อำนวยการ 
                                    2.1 ได้รับประกาศเกียรติคุณ "บุคคลดีเด่น ของเข
ประวัติโรงเรียน
                 2. ซิสเตอร์นงนภัส      สุวรรณใจ                   ผู้อำนวยการ 
                      2.1 ได้รับประกาศเกียรติคุณ "บุคคลดีเด่น ของเขตคลองเตย" ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561
                      2.2ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และได้รับการคัดเลือกรับ "รางวัล 100 ปี ครูดีศรีเอกชน" ระดับทอง มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 30 - 39 ปี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางรัตนา  ศรีเหรัญ  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  3. นางสาวสุคนธา  รสทิพย์              ได้รับเชิชูเกียรติเป็นครูดีศรีพระหฤทัย โอกาสวันครูพระหฤทัยสัมพันธ์ ครั้งที่ 27 ประจำปีการศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561
                  4. นางปราภา   ยิ้มงาม      ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และได้รับการคัดเลือกรับ "รางวัล 100 ปี ครูดีศรีเอกชน" ระดับเหรียญทอง มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 30 - 39 ปี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางรัตนา  ศรีเหรัญ  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  5. นายกำพล         สังเนตร   ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และได้รับการคัดเลือกรับ "รางวัล 100 ปี ครูดีศรีเอกชน" ระดับทอง มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 30 - 39 ปี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางรัตนา  ศรีเหรัญ  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  6.นางสาวธนัญญา   เกาะแก้ว ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนด้วยความวิริยะ อุตสาหะ และได้รับการคัดเลือกรับ "รางวัล 100 ปี ครูดีศรีเอกชน" ระดับเงิน  มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 20 - 29 ปี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางรัตนา  ศรีเหรัญ  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                  7. นักเรียนได้รับประกาศเกียรติคุณ เด็กดีศรีคลองเตย สาขากีฬาและนันทนากร ได้แก่
                เด็กชายนภัสกร                    เหมือนช้าง                           เด็กชายรพีภัทร                    ศรีปัดชา
                เด็กชายวีระศักดิ์                   พานิชเจริญผล                      เด็กชายธนะโชติ                  เจิมประดิษฐ์วงศ์
                เด็กชายเจนณรงค์                น้อยสิงห์                               เด็กหญิงกัญญาณัฐ              นงค์นุช
                เด็กหญิงกนกวรรณ               แก่นอากาศ                           เด็กหญิงดวงเดือน                กาทอง
                เด็กหญิงจิรวดี                      โต๊ะเจริญธรรม                       เด็กชายอนพัทย์                   ก้าวกระโทก
                เด็กหญิงวริยา                       พรมภักดิ์